วันที่ 26 เมษายน 2566 เนื่องในโอกาสวันสถาปนาสภากาชาดไทย ครบ 130 ปี สภากาชาดไทย จัดงานวันสถาปนาสภากาชาดไทย ณ บริเวณสถานเสาวภา
สภากาชาดไทย ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์วิศิษฎ์ สิตปรีชา ผู้อำนวยการสถานเสาวภา สภากาขาดไทย นำคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สถานเสาวภา
วางพานพุ่มถวายราชสักการะพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง หลังจากนั้น ร่วมตักบาตรแด่พระภิกษุสงฆ์
จำนวน 20 รูป และถ่ายภาพร่วมกันเป็นที่ระลึกบริเวณหน้าตึกอำนวยการ สถานเสาวภา
สภากาขาดไทยถือกำเนิดขึ้นในต้นรัตนโกสินทรศก 1 12 (พ.ศ. 2436) ขณะนั้นได้เกิดกรณีพิพาทระหว่างสยามกับฝรั่งเศส เรื่องดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง
หรือที่เรียกกันว่า “วิกฤตการณ์สยาม” เหตุการณ์วีความรุนแรงจนเกิดการสู้รบ และส่งผลให้มีทหารบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากแต่ทว่าไม่มีองค์กรการกุศลใดๆ
ให้ความช่วยเหลือและให้การพยาบาลทหารที่บาดเจ็บเหล่านั้น
ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ เห็นว่าสตรีชาวสยามสามารถมีบทบาทสนับสนุนช่วยเหลือเหล่าทหารที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในสงครามได้ จึงชักชวนและรวบรวม
สตรีอาสาสมัคร และได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า)
ขอให้ทรงนำความขึ้น กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดตั้งสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม
เมื่อความทราบผ่าละอองธุลีพระบาทแล้วนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง “สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม” ขึ้น
ในวันที่ 26 เมษายน ร.ศ.112 (ถือเป็นวันสถาปนาสภากาขาดไทย) และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ พระราชทาน
พระบรมราชานุญาตให้สามารถเรี่ยไรเงินบริจาค อีกทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี
(สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) เป็น “สภาชนนี” สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระรราชเทวี (สมเด็จพระศรีพัชรินทรา-
บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง) เป็น “สภานายิกา” และท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ เป็น “เลขานุการิณี”ในภายหลังชื่ อ
“สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม” ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สภากาชาดสยาม” ในปีพ.ศ.2449 จากนั้นชื่อ”สภากาชาดสยาม” ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สภากาชาดไทย”
ในปี พ.ศ. 2482 จนถึงปัจจุบัน