1

99 สู่ 100 ปี ยุวกาชาดไทย
ยุวกาชาด เกิดขึ้นจากมติที่ประชุมสหพันธ์สภากาซาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ เมื่อปีพุทธศักราช 2462 โดยที่ประชุมสหพันธ์ฯ ได้มีข้อเสนอแนะว่า “สภากาชาดทุกชาติควรจัดตั้งกาชาดสำหรับเด็ก” สำหรับประเทศไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) พระบรมราชูปถัมภกสภากาชาดสยาม ทรงรับหลักการจากที่ประชุมสหพันธ์สภากาชาด และสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ เมื่อปีพุทธศักราช 2462 ที่เสนอแนะให้กาชาดประเทศต่าง ๆ จัดตั้งกาชาดสำหรับเด็กขึ้น
ต่อมา กิจการยุวกาชาดจึงได้รับการก่อตั้งขึ้นในสยาม เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2465 โดยใช้ชื่อว่า “กองอนุสภากาชาดสยาม” ซึ่งรับเด็กอายุ 7 – 18 ปี เข้าเป็นสมาชิก ทั้งนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริษัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้ทรงมีนิพนธ์ เกี่ยวกับอนุสภากาชาดสยามว่า “อนุสภากาซาด ฝึกสอนเด็ก ซึ่งเข้าเป็นสมาชิกทั้งชายและหญิง” นอกจากนี้ยังทรงมีคำสั่งว่าด้วยเรื่อง การแก้ไขข้อบังคับสภากาชาดสยาม (ฉบับที่ 3)ว่าด้วยอนุสภากาชาดสยาม ซึ่งได้ประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาว่าให้เพิ่มกองแยกของสภากาชาดสยามขึ้นอีกกองหนึ่งโดยใช้ชื่อว่า “อนุสภากาชาดสยาม” โดยมีจางวางโทพระยาไพศาลศิลปศาสตร์ ปลัดทูลฉลองกระทรวงธรรมการ อุปนายกกรรมการกลางลูกเสือและกรรมการสภากาชาด เป็นผู้อำนวยการกองอนุสภากาชาดสยามคนแรก
วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2465 ได้มีการเปิดหมู่อนุสภากาชาดสยามเป็นแห่งแรกขึ้น ณ โรงเรียนราชินี โดยมีสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดหมู่อนุสภากาชาดสยาม โดยในเวลานั้นหม่อมเจ้าหญิงพิจิตรจิราภา เทวกุล พระอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนราชินี ทรงดำรงตำแหน่งนายกหมู่ยุวกาชาดคนแรก และได้ทรงนิพนธ์บทเรียนเป็นบทละครเกี่ยวกับการรักษาอนามัย การละเล่นเบ็ดเตล็ดซึ่งแฝงคติธรรม ให้สมาชิกได้แสดงในพิธีเข้าประจำหมู่ยุวกาซาดและในงานกาซาด เช่น บทละครเรื่อง ยายกับหลาน ใครฆ่าเชื้อโรค ต้นไม้กาชาด นายพรานกับนกเขา กินนรรำ เป็นต้น

จำนวนหน้า: 19 หน้า
วันที่เผยแพร่:
ฉบับที่ - ประจำเดือน: ปีที่ 71 ฉบับที่ 411 ประจำเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564
ขนาดไฟล์: 43 MB MB
 
ตัวอย่าง:
1
40
19