วารสาร ฬ ฉบับเดือนเมษายน พ.ศ.2565

ฉบับเดือนเมษายน-พ.ศ.2565_Page_01

พลตรี พระยาวิบุลอายุรเวท ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ชาวสยามท่านแรก

พลตรี พระยาวิบุลอายุรเวท (เสข ธรรมสโรช) ปรากฏในบันทึกเหตุการณ์วันเสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 ในยศและบรรดาศักดิ์ “นายพันตรีหลวง ศักดาพลรักษ์” ดังนี้

นายพันตรีหลวงศักดาพลรักษ์ ผู้รั้งผู้อำนวยการโรงพยาบาลเชิญเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสถานที่ต่างๆ คือในตึกที่ว่าการ (ตึกอำนวยการในปัจจุบัน) ชั้นบน ทอดพระเนตรห้องทำการของเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ห้องประชุม ห้องตรวจเชื้อโรค แล้วเสด็จพระราชดำเนินสู่ตึกว่าการชั้นกลาง (ในสมัยก่อนตึกอำนวยการมีชั้นใต้ดิน จึงนับชั้น 1 เป็นชั้นกลาง) ทอดพระเนตรห้องเรียนสำหรับใช้สอนนายแพทย์ ห้องตรวจผู้ป่วย ห้องจ่ายยา ในตึกสำหรับผ่าตัดทอดพระเนตรห้องผ่าตัด ห้องเอกซเรย์ ณ ที่นี่ นายพันตรีหลวงศักดาพลรักษ์ฉายรูปเอกซเรย์ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว”

พลตรี พระยาวิบุลอายุรเวท (เสข ธรรมสโรช) ได้รับพระราชทานนามสกุล “ธรรมสโรช” จาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เข้ารับการศึกษาชั้นสามัญที่โรงเรียนสุนันทาลัย (พื้นที่โรงเรียนราชินีในปัจจุบัน) แรกเข้ารับราชการเป็นว่าที่นายร้อยตรีแพทย์ในปี พ.ศ. 2445 ในกองพันที่ 4 ซึ่งไปปราบโจรเงี้ยว มณฑลภาคพายัพ และท่านยังสอบไล่เข้าโรงเรียนราชแพทยาลัยไทยและยุโรป ได้เป็นที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2444

ต่อมาในปี พ.ศ. 2457 ท่านเป็นผู้รั้งผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 เนื่องจากผู้อำนวยการชาวเยอรมันถึงแก่กรรมจากการติดเชื้อในกระแสเลือดจากบาดแผล ขณะผ่าตัดก่อนถึงวันเสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 ท่านจึงรับภาระหนักในการจัดหาแพทย์ เจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายบริการและฝ่ายการศึกษาด้วยความวิริยะ อุตสาหะ จนได้รับพระราชทานยศและสัญญาบัตรเป็น “นายพันเอก พระอนุรักษ์โยธา” และย้ายไปรับตำแหน่ง นายแพทย์ใหญ่ทหารบก เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2460 ท่านเป็นอายุรแพทย์ (รักษาทางยาทั่วไป) รวมทั้งโรคระบาดและโรคเฉพาะเขตร้อน และวิชาว่าด้วยโรคเด็ก ท่านได้เขียนบทความเรื่องสมุนไพร การบริบาล
และบำบัดโรคทารก อาหารที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย และวิธีปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย การสังเกตกิริยาอาการผู้ป่วย

นอกจากนี้ ท่านยังได้ประดิษฐ์เปลสำหรับขนย้ายผู้ป่วยหรือผู้ประสบภัยจากการสู้รบ ผลงานที่สำคัญของท่านอีกประการหนึ่งที่มีต่อวงการแพทย์สยามคือ ท่านเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง แพทยสมาคม ซึ่งมีสำนักงานแรกที่ตึกอำนวยการโรงพยาบาลจฬุาลงกรณ์ ก่อนจะย้ายไปเปิด ทำการที่บ้านศาลาแดงในโอกาสต่อมา

จำนวนหน้า: 28 หน้า
วันที่เผยแพร่:
ฉบับที่ - ประจำเดือน: 73 เมษายน 2565
ขนาดไฟล์: 18 MB
 
ตัวอย่าง:
ฉบับเดือนเมษายน-พ.ศ.2565_Page_01
ฉบับเดือนเมษายน-พ.ศ.2565_Page_02
ฉบับเดือนเมษายน-พ.ศ.2565_Page_03
ฉบับเดือนเมษายน-พ.ศ.2565_Page_04
ฉบับเดือนเมษายน-พ.ศ.2565_Page_05